พ.ร.บ.รถยนต์ หรือเรียกเต็มๆว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นประกันภาคบังคับซึ่งเป็นข้อบังคับที่ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องมีเพื่อให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือประสบภัยจากการใช้รถกรณีอื่นๆ ทั้งผู้ประสบภัยเองหรือคู่กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุนั้นๆ ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูกก็ตาม โดยกำหนดให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถต้องไปต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ ในทุก ๆ ปี นอกจากนี้พ.ร.บ.รถยนต์ยังใช้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อยื่นประกอบการต่อภาษีรถยนต์ตามกฎหมายอีกด้วย
พ.ร.บ.รถยนต์แบ่งได้เป็น 2 ความคุ้มครอง
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นความคุ้มครองที่ทางพ.ร.บ.รถยนต์ชดเชยให้ผู้ประสบภัยขั้นต้นทันทีโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดในอุบัติเหตุครั้งนั้น ในส่วนของค่าเสียหายที่ทางพ.ร.บ.รถยนต์จะจ่ายให้เบื้องต้น ดังนี้
– กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริงจากการบาดเจ็บในครั้งนั้นสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน
– กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท/คน
– กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพหรือค่าใช้จ่ายในการจัดการศพสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท/คน
2. ค่าสินไหมทดแทน
สำหรับค่าสินไหมทดแทนจะได้รับหลังจากมีการพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก และทางพ.ร.บ.รถยนต์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ดังนี้
– กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง จากการบาดเจ็บในครั้งนั้นสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน และจะได้รับค่าชดเชยรายวันๆละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน
– กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สูญเสียอวัยวะและตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
– กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย จะได้รับค่าสินไหมทดแทนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน
ต่ออายุ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้กี่วัน
กรณีต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ สามารถซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน
พ.ร.บ.รถยนต์ ขาดได้กี่วัน?
พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถต่อล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วันก่อน พ.ร.บ.รถยนต์จะหมดอายุ ในกรณีที่ลืมไปต่ออายุ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือปล่อยให้พ.ร.บ.รถยนต์ ขาด จะมีขั้นตอนอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง มีรายละเอียดดังนี้
– พ.ร.บ.รถยนต์ ขาดไม่เกิน 1 ปี สามารถทำเรื่องต่อภาษีได้เลยโดยไม่เสียค่าปรับเพิ่มเติม
– พ.ร.บ.รถยนต์ ขาดเกิน 2 ปี จะต้องตรวจสภาพรถและดำเนินการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่กรมการขนส่งทางบก พร้อมกับเสียค่าปรับโดยยื่นเอกสารสำคัญคือ ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
– พ.ร.บ.รถยนต์ ขาดเกิน 3 ปี มีความเสี่ยงที่รถยนต์คันดังกล่าวจะถูกระงับป้ายทะเบียน จึงต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่และเสียค่าปรับรวมถึงการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย โดยยื่นเอกสารสำคัญคือ ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
พ.ร.บ.รถยนต์ขาดมีผลอย่างไร?
โดยทั่วไปหากพ.ร.บ.รถยนต์ จะต้องมีการต่ออายุต่อเนื่องปีต่อปี ในกรณี พ.ร.บ.รถยนต์ขาดอาจส่งผลกระทบได้ดังนี้
- กรณีเกิดอุบัติเหตุอาจไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์
- กรณีเกิดอุบัติเหตุแล้วได้รับความเสียหายหรือบาดเจ็บ อาจไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หรืออาจต้องสำรองจ่ายเงินค่าซ่อมรถหรือค่ารักษาพยาบาลก่อนที่จะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีฝ่ายผิดต่อไป
- กรณีอาจไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์เมื่อถูกไล่เบี้ยค่าเสียหายจากคู่กรณีอีกฝ่าย และต้องเสียค่าปรับประมาณ 10,000 บาท
- ไม่สามารถต่อภาษีได้ หากไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์
- หากฝ่าฝืนขับรถโดยไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ หรือไม่จัดทำ พ.ร.บ.รถยนต์ตามกฎหมายจราจรทางบก มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีเจ้าของรถไม่จัดทำพ.ร.บ.รถยนต์และได้นำรถคันนั้นไปใช้ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- กรณีคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ดังนั้นจะเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำพ.ร.บ.รถยนต์แล้วว่าหากไม่จัดทำให้ถูกต้องครบถ้วน อาจส่งผลทำให้เกิดโทษตามกฎหมายได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถและความคุ้มครองของพ.ร.บ.รถยนต์ทั้งในตัวของผู้ประสบภัยและคู่กรณีอีกฝ่าย ทุกคนควรจัดทำพ.ร.บ.รถยนต์ให้ต่อเนื่องทุกปี อย่าให้ขาดจะดีที่สุด
ติดต่อสอบถามลายละเอียดเกี่ยวกับ >>> รับจำนำรถ <<< คลิก
ติดต่อจำนำผ่านไลน์ <<< คลิก
ดูขั้นตอนการเตรียมเอกสารการจำนำรถ <<< คลิก