เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า สีป้ายทะเบียนรถ ที่เป็นแผ่นโลหะรูปทรงสี่เหลี่ยม มีตัวอักษรและตัวเลขติดอยู่ด้านท้ายของยานพาหนะต่าง ๆนั้น มีทั้งหมดกี่สีและแต่ละสีมีความหมายอย่างไรบ้าง ขอบอกเลยว่าไม่ใช่เพียงติดเพื่อความสวยงามใดๆ แต่เพื่อแยกประเภทตามลักษณะการใช้งานของรถยนต์ ดังนี้
ประเภทของรถที่ต้องนำไปจดทะเบียน
ในขั้นตอนที่เราจะได้ป้ายทะเบียนมานั้นต้องนำรถไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ประเภทของรถที่ต้องนำไปจดทะเบียนที่กับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งครอบคลุมถึงรถทุกชนิดที่สามารถใช้งานบนท้องถนนได้ มีทั้งหมด 17 ประเภท โดยแยกตามประเภทของการใช้งาน ดังนี้
– รย.1 – รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
– รย.2 – รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
– รย.3 – รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
– รย.4 – รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
– รย.5 – รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
– รย.6 – รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
– รย.7 – รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง
– รย.8 – รถยนต์รับจ้างสามล้อ
– รย.9 – รถยนต์บริการธุรกิจ
– รย.10 – รถยนต์บริการทัศนาจร
– รย.11 – รถยนต์บริการให้เช่า
– รย.12 – รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
– รย.13 – รถแทรกเตอร์ กำหนดลักษณะตามใช้งาน
– รย.14 – รถบดถนน ไม่ต้องกำหนดลักษณะ
– รย.15 – รถใช้งานเกษตรกรรม
– รย.16 – รถพ่วง ไม่กำหนดลักษณะ
– รย.17 – รถจักรยานยนต์สาธารณะ
ความหมายของสีป้ายทะเบียนรถ
รู้หรือไม่ว่าป้ายทะเบียนรถแต่ละสีที่เราเห็นแตกต่างกันบนท้องถนนนั้น มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง ตามไปดูคำตอบกันได้เลย
1. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ
หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถยนต์ทั่วไป รถเก๋ง รถเอสยูวี รถกระบะสี่ประตู รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น ซึ่งเป็นประเภทที่เราพบเห็นได้มากที่สุดในท้องถนน
2. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว
หมายถึง รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ หรือ รถบรรทุกขนาดเล็ก
3. ป้ายทะเบียนรถสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ หรือรถอเนกประสงค์ขนาดใหญ่
4. ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีดำ
หมายถึง รถยนต์ รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือมินิบัส
5. ป้ายทะเบียนสีแดง ตัวหนังสือสีดำ
หมายถึง ป้ายทะเบียนรถที่กรมการขนส่งทางบกออกไว้ให้ใช้ชั่วคราวระหว่างรอจดทะเบียนเป็นป้ายขาว เพื่อแสดงว่ารถยนต์คันดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งจะมีเงื่อนไขในการใช้งานได้ไม่เกิน 30 วัน รวมถึงขับได้เฉพาะในเขตจังหวัดที่ระบุอยู่บนป้าย และห้ามใช้งานในช่วงเวลาหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน
6. ป้ายทะเบียนรถสีฟ้า ตัวหนังสือสีขาว
หมายถึง ป้ายทะเบียนรถพิเศษที่ใช้สำหรับบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต สถานกงสุล หรือองค์กรระหว่างประเทศ
– อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานทูต
– อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงสุล
– อักษร อ คือ องค์กรระหว่างประเทศ
7. ป้ายทะเบียนสีส้ม ตัวหนังสือสีดำ
หมายถึง ป้ายทะเบียนรถสำหรับใช้ทางเกษตรกรรม หรือรถในงานก่อสร้าง เช่น รถพ่วง รถแทรกเตอร์ รถไถ รถบดถนน เป็นต้น
8. ป้ายสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง
หมายถึง รถยนต์รับจ้างรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัด
9. ป้ายสีเหลือง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
หมายถึง รถยนต์สี่ล้อเล็กที่วิ่งรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ เป็นต้น
10. ป้ายสีเหลือง ตัวหนังสือสีเขียว
หมายถึง รถยนต์รับจ้างสามล้อ เช่น รถตุ๊กตุ๊ก
11. ป้ายสีเขียว ตัวหนังสือสีขาว หรือสีดำ
หมายถึง รถที่ให้บริการทัศนาจร หรือรถบริการให้เช่า เช่น รถลีมูซีนสนามบิน เป็นต้น
12. ป้ายทะเบียนรถที่มีลวดลายกราฟิกแบบต่างๆ
หมายถึง สำหรับเลขทะเบียนรถที่มีหมายเลขพิเศษโดยการประมูลมาจากกรมการขนส่งทางบก เฉพาะที่เป็นทะเบียนของรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เท่านั้น ป้ายทะเบียนจะมีรูปภาพพื้นหลังสีสันสวยงามแสดงถึงเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร มีรูปวัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานพระราม 8 อยู่ในภาพพื้นหลัง เป็นต้น
สรุป เห็นไหมว่าสีป้ายทะเบียนรถที่มีความแตกต่างกันแต่ละสี ล้วนมีความหมายที่น่าสนใจทั้งนั้น และที่สำคัญต้องนำไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกให้ถูกประเภทด้วย มิฉะนั้นหากเจ้าหน้าที่มีการตรวจพบจะถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย และสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าคือการดูแลรักษาป้ายไม่ให้ชำรุดเสียหายหรือตัวหนังสือซีดจาง ไม่ชัดเจน หากตรวจพบสามารถทำเรื่องขอป้ายทะเบียนใหม่ได้ที่กรมการขนส่งทางบกได้เลย
ติดต่อสอบถามลายละเอียดเกี่ยวกับ >>> รับจำนำรถ <<< คลิก
ติดต่อจำนำผ่านไลน์ <<< คลิก
ดูขั้นตอนการเตรียมเอกสารการจำนำรถ <<< คลิก