รับจำนำรถ มีเล่ม ไม่มีเล่ม

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ การโอนรถ รวมถึงเอกสารและขั้นตอนการโอนรถ

การโอนรถ

สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการโอนรถหรือแปลความหมายง่ายๆก็คือต้องการเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ของรถนั่นเอง วันนี้เราพามาทำความรู้จักกับประเภทของการโอนรถทั้งแบบโอนตรงและโอนลอย รวมถึงเอกสารและขั้นตอนในการโอนรถจะต้องทำยังไงบ้าง ดังนี้

ประเภทของการโอนรถยนต์

การโอนรถ

การโอนรถ แบบโอนตรง 

การโอนประเภทนี้ทั้งเจ้าของรถทั้งเก่าและเจ้าของใหม่หรือผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องเดินทางไปโอนรถโดยการโอนกรรมสิทธิ์รถต้องเข้าไปยื่นเรื่องแจ้งเรื่องต่อนายทะเบียนที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด และต้องแจ้งดําเนินการต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน ที่สำนักงานขนส่งนับแต่วันโอน หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดจะต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท  ทั้งนี้รถจะต้องมีสภาพตรงกับรายละเอียดที่ระบุในใบคู่มือจดทะเบียนรถ หากข้อมูลไม่ตรงเจ้าของจะต้องนำไปปรับข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อน กรณีที่รถมีการดัดแปลงเพิ่มเติมก็ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพรถยนต์ด้วย 

การโอนรถ แบบโอนลอย  

การโอนประเภทนี้ผู้ขายรถยนต์สามารถส่งมอบเอกสารในการโอนรถให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนรถเองได้หลังจากตกลงซื้อขายเรียบร้อย โดยเซ็นชื่อกำกับที่เอกสารส่งมอบให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนรถเอง ซึ่งวิธีนี้ได้รับความนิยมในในปัจจุบัน เนื่องจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายยังประหยัดเวลาในการเดินทางอีกด้วย แต่การโอนลอยนั่นก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เช่น หากผู้ขายมอบอำนาจให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนรถเองแล้ว ขณะที่ผู้ซื้อยังไม่ดำเนินการโอนรถ แล้วนำรถไปทำผิดกฎหมาย ดังนั้นเจ้าของรถเดิมหรือผู้ขายอาจต้องรับผิดไปด้วย

เอกสารที่ใช้ในการโอนรถ

ในการเตรียมเอกสารการโอนรถจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการโอน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการโอนรถเราควรเตรียมเอกสารการโอนรถให้ครบถ้วน โดยทั่วไปแล้วเอกสารที่ต้องใช้คือ แบบฟอร์มเอกสารการโอนรถ และ ใบมอบอํานาจโอนรถ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากอินเทอร์เน็ตได้ และเอกสารจำเป็นอื่นๆ ดังนี้

เอกสารโอนรถ กรณีโอนตรง

  1. หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์
  2. เล่มทะเบียนรถตัวจริง
  3. สำเนาบัตรประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน พร้อมลายเซ็นสำเนาถูกต้อง หรือกรณีเป็นนิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  4. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 
  5. แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมการขนส่งทางบก กรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนให้เรียบร้อย
  6. สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จ และใบกำกับภาษี

เอกสารโอนรถ กรณีโอนลอย

  1. หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์
  2. เล่มทะเบียนรถตัวจริง
  3. สำเนาบัตรประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน พร้อมลายเซ็นสำเนาถูกต้อง หรือกรณีเป็นนิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  4. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 
  5. แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมการขนส่งทางบก กรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนให้เรียบร้อย
  6. สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จ และใบกำกับภาษี
  7. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบกรณีผู้โอนและ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง

หมายเหตุ: ในการเซ็นต์เอกสารสำเนาถูกต้อง จะต้องระบุว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน ……………. เท่านั้น” เพื่อป้องกันการนำสำเนาเอกสารไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง 

ขั้นตอนการโอนรถ

1. ยื่นแบบคำขอโอนและรับโอน รวมถึงเอกสารอื่นๆที่เตรียมข้างต้น กรอกข้อความและลงนามในคำขอให้เรียบร้อย หากรถที่ต้องการโอนมีการดัดแปลงเพิ่มเติมต้องนำรถเข้าตรวจสภาพรถยนต์ 

2. ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11 ของผู้รับโอน

3. ชำระค่าธรรมเนียม

4. บันทึกรายการทางทะเบียนรถ

5. รับหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถคืน

หมายเหตุ: ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอนรถ หากไม่ดำเนินการจะต้องเปรียบเทียบปรับตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

ติดต่อสอบถามลายละเอียดเกี่ยวกับ >>> รับจำนำรถ <<< คลิก

ติดต่อจำนำผ่านไลน์ <<< คลิก

ดูขั้นตอนการเตรียมเอกสารการจำนำรถ  <<< คลิก